SATUN GEOPARK
จากผืนทะเลดึกดำบรรพ์ 500 ล้านปี สู่ขุนศรียิ่งใหญ่ ผูกพันวิถี ชีวิตผู้คน
“อุทยานธรณีสตูล”
ได้รับการประกาสเป็นอุทยานธรณีระดับประเทศในเดือนพฤศจิกายน ปี2559 ด้วยพื้นที่ 2,597.21 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ ครอบคลุม 4 อำเภอของจังหวัดสตูล คือ ทุ่งหว้า มะนัง ละงู และอำเภอเมือง ลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาหินปูนมีเกาะน้อยใหญ่และชายหาดที่สวยงาม ผืนดินแห่งนี้เป็นบันทึกหลักฐานของโลกใต้ทะเลเมื่อ 500 ล้านปีก่อน
อุทยานธรณีสตูลจากทะเล 500 ล้านปี
541 - 485 ล้านปีก่อน เริ่มต้นจากพื้นทะเล “ยุคแคมเบรียน” อายุเก่าแก่กว่า 500 ล้านปี โดยพบหลักฐานเป็นซากดึกดำบรรพ์สัตว์ทะเลอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ในหินทรายสีแดงบนเกาะตะรุเตา
485 – 444 ล้านปีก่อน “ยุคออร์โดวิเชียน” แผ่นดินแห่งนี้กลายเป็นแหล่งผลิตก๊าซออกซิเจนให้กับโลกยุคโบราณ โดยกลุ่มสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เรียกว่า “สโตรมาโตไลค์” ทะเลยุคนี้เป็นช่วงเวลาแห่งความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ทะเลโดยเฉพาะนอร์ติลอยด์หรือหมึกทะเลโบราณ
444 – 247 ล้านปีก่อน “ยุคไซลูเรียน-ไทรแอสสิกตอนต้น” แผ่นดินอุทยานธรณีสตูลยังจมอยู่ใต้ทะเล แต่เปลือกโลกเคลื่อนที่ตลอดเวลาทำให้แผ่นดินอุทยานธรณีสตูลที่เคยอยู่ซีกโลกใต้ เคลื่อนที่ขึ้นมาซีกโลกเหนือ
ขุนศรียิ่งใหญ่ ผูกพันวิถี ชีวิตผู้คน
247 ล้านปี – ปัจจุบัน “ยุคไทรแอสสิก ตอนกลาง – ปัจจุบัน”
เป็นช่วงเวลาสำคัญที่เปลือกโลก2แผ่นชนกัน ทำให้พื้นท
ี่อุทยานธรณีสตูลยกตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องจากพื้นที่ทะเล
สู่ภูเขาสูงชันและถูกกัดกร่อนโดยสายลมและสายน้ำนับล้านปี
จนเกิดลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลายและสวยงามดังปัจจุบัน
“6,000 ปี” คือจุดเริ่มต้นของความเชื่อมโยงระหว่างภูมิประเทศ
หินและมนุษย์ โดยใช้ถ้ำเป็นบ้านหลังแรก เพื่อพักอาศัย
จากหลักฐานเครืองมือที่ทำจากกระดูกสัตว์และซากสัตว์ที่อยู่
ในถ้ำที่มีความสูงจากพื้นดินกว่า 30 เมตร
ขอขอบคุณข้อมูลจากสำนักงาน อุทยานธรณีสตูล